top of page
รูปภาพนักเขียนECO LATEX อีโค่ เลเท็กซ์

การผลิตน้ำยาง


แหล่งผลิตน้ำยางที่ใหญ่ที่สุดของโลกอยู่ที่ทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยคิดเป็น 90%ของโลก ส่วน10% จะมาจากทวีปแอฟรีกากลาง ซึ่งพันธุ์ที่ผลิตในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้คือพันธุ์เวียบราซิลเลียนซิส น้ำยางที่กกรีดได้จากต้นจะเป็นน้ำยางสด มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวในน้ำยางจะมีปริมาณของแข็งผสมอยู่30% น้ำยางมีความหนาแน่น 0.97-0.98 กรัมต่อมิลลิลิตร ความหนืดของน้ำยางประมาณ 12-15 เซนติพอยส์ ส่วนประกอยในน้ำยางสดแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆคือ

  1. ส่วนที่เป็นเนื้อยาง 35%

  2. ส่วนที่ไม่ใช่ยาง 65%

    1. ส่วนของน้ำ 55%

    2. ส่วนของลูทอยด์ 10%

น้ำยางสดที่กรีดจากต้นยางจะมีสภาพเป็นของเหลวอยู่ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมงเนื่องจากแบคทีเรียในอากาศและจากเปลือกของต้นยางที่ลงไปในน้ำยางและสารอาหารต่างๆในน้ำยางทำให้เกิดแบคทีเรีย แบคทีเรียจะค่อยๆย่อยสลายสารอาหารต่างๆทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออไซด์ ก๊าซมีเทน ทำให้น้ำยางเกิดการบูดเน่าส่งกลิ่นสามารถสังเกตได้จากตัวน้ำยางจะค่อยๆหนืดขึ้น

การนำน้ำยางไปใช้มีอยู่ 2รูปแบบ


1รูปแบบน้ำยาง

การใช้เครื่องเซนตริฟิวส์ ในขณะที่การเตรียมยางแห่งนั้นมักจะใช้วิธีการใส่กรอดอะซิติลงในน้ำยางสดทำให้ตัวเนื้อยางและน้ำเกิดการแยกชั้นกันระหว่างยางและน้ำ วิธีนี้จะได้น้ำยางที่คงรูปได้นาน

น้ำยางเข้มข้นไม่ผ่านการดัดแปลงคือไม่ผ่านกระบวนการใดๆที่ทำให้โมเลกุลของยางเปลี่ยนแปลงแต่อายุการเป็นของเหลวจะคงสภาพไว้ไม่เกิน6ชั่วโมงเท่านั้น






2รูปแบบยางแห้ง

การใช้วิธีรมควันยางเพื่อให้ยางโดยความร้อนและเกิดการแข็งตัวจากนั้นนำไปตากแดดเพื่อให้คงรูปแบบของยางแห้งยางแห้งจะคงสภาพอยู่ได้นานแต่หากทิ้งไว้นานเกิดเมื่อนำมาใช้ต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาด

ยางแท่งกระบวนการจะคล้ายกับการลมควันแต่ยางแท่งจะมีมาตรฐานรองรับคุณภาพของยางตามที่ประเทศนั้นๆกำหนดอีกทั้งราคายังถูกกว่ายางแผ่นลมควันอีกมาก

ยางแบบอื่นๆ ที่จะมีวิธีการผลิตหรือสูตรเฉพาะของแต่ละผลิตภัณฑ์ชนิดใดชินดหนึ่งหรือเติมส่วนผสมสารเคมีต่างๆเข้าไปเพื่อให้ได้รูปแบบยางที่ต้องการได้แก่ ยางเทอร์โทพลาสติก ยางอิพอกซิไดซ์ ยางผง ยางเหลวเป็นต้น


ดู 53 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page